Bravo Music everthing for string player
Email: Password:
New Register | Forget your password?
Log on to System | Forget Password | New Register | Promotion | How to Order? | How to Pay? | How to Deliver? | Tell a Friend | How to choose violin | String guide | Violin Parts | Violin Care & Maintenance | Setup| Dealers Certificate I Rentals Violin & Cello | Violin & Cello Lesson | Musical Instrument Guide | After Service I Vegan Bow I Sound System Term I Amplifiers Class I Type of Guitar I Violin Style I Why? Bravomusic I Violin&Cello Teachers | Free Sheet Music
    ไทย   Your Basket item(s)
Product Search:
Share on
Category
 

Main Menu
Log on to System
Forget Password
New Register
Promotion
How to Order?
How to Pay?
How to Deliver?
Tell a Friend
Tips & Trick
 

   
   
   
   

 

ชมรมดับเบิ้ลเบสไทย
บริการวงดนตรีสำหรับงานวิวาห์และงานโอกาสต่างๆ
ชมรมดนตรี
ห้องอัดเสียง BM Recording Studio ห้องบันทึกเสียงคุณภาพดี
Sound System Term
 

ศัพท์เครื่องเสียง

ลำโพง Passive คือ ลำโพงที่ไม่มีภาคขยายเสียงหรือ Amplifier ในตัวเอง เป็นตู้ลำโพงเปล่าๆ ที่มาพร้อมกับดอกลำโพง เราจะต้องไปหาเครื่องขยายเสียง
หรือ Power Amplifier มาต่อเพื่อขับให้ลำโพง Passive ทำงาน ซึ่งโทนเสียงของลำโพงก็จะเปลี่ยนไปตามแอมป์ที่ใช้งาน

ข้อดี คือ สามารถหาแอมป์ในโทนเสียงที่ชอบมาปรับเสียงที่จะขับออกจากลำโพงได้
ข้อจำกัด คือ ขนย้ายไม่สะดวกเท่าลำโพงแบบ Active เพราะต้องซื้อ Power Amp. มาต่อพวงเพื่อให้เกิดเสียง และยุ่งยากสำหรับการต่อพวงสายสัญญาณเข้ากับตัว Power Amp.
ทำให้ต้องเผื่องบไว้สำหรับสายสัญญาณที่มีคุณภาพสูงด้วย หากใช้สายสัญญาณที่ ไม่มีคุณภาพอาจทำให้คุณภาพเสียงนั้นออกมาไม่สมบูรณ์ หากผู้ใช้ไม่ชำนาญพอ เสียงที่ออกมา อาจจะแย่กว่าลำโพงประเภท Active ก็เป็นได้

ลำโพงแบบ Passive จะมีราคาถูกว่าลำโพงแบบ Active ในระดับเดียวกัน แต่ลำโพงแบบ Passive นั้นยังไม่รวมราคาของ Power Amplifier และสายสัญญาณสำหรับต่อเชื่อม

ลำโพง Active คือ ลำโพงที่มีภาคขยายเสียง หรือ Amplifier ในตัว เพียงแค่เสียบปลั๊กไฟ (สาย AC แบบที่ใช้กับคอมพิวเตอร์) ต่อ Input เข้าไปแล้วขับเสียงออกทางลำโพงได้เลย ซึ่งผู้ผลิตของแต่ละแบรนด์จะผลิตกำลังวัตต์แอมป์ให้เหมาะสมกับดอกลำโพงนั้นมาแล้ว แอมป์ที่ใช้ก็มีให้เลือกอีกว่าเป็น Class AB หรือ Class D ซึ่งราคาก็จะต่างกันไปด้วย ส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้งานคอนเสิร์ต, งาน Event ออกบูธ หรืองาน Exhibition บริษัทออแกไนซ์เซอร์ และผู้ใช้ทั่วไปที่มีมีความชำนาญมากนักจะนิยมใช้ลำโพงชนิดนี้

ข้อดี คือ ใช้งานได้ง่ายสะดวก เสียงที่ออกมาดีตามมาตรฐาน ขนย้าย และติดตั้งสะดวก
ข้อจำกัด คือ ถ้าเราเป็นคนชอบจับนู่น ผสมนี่ ลำโพง Active อาจจะไม่เหมาะ เพราะไม่สามารถเปลี่ยนแอมป์ในตัวได้

 

RMS ย่อมาจาก Root-Means-Square
เพาเวอร์ อาร์เอ็มเอส คือกำลังเฉลี่ย ที่เครื่องเสียงปล่อยออกมาได้อย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น 1,000W RMS

dB ย่อมาจาก เดซิเบล (อังกฤษ: decibel, dB) เป็นหน่วยวัดเทียบอัตราส่วนระหว่างปริมาณเสียงสองปริมาณ ใช้สำหรับวัดความดังของเสียง คิดค้นโดย Alexander Graham Bell นิยมใช้กันมากในทางอคูสติก ฟิสิกส์และอิเล็กทรอนิกส์ เดซิเบลเป็นหน่วยวัดที่ไม่มีหน่วยเหมือนค่าเปอร์เซ็นต์ หน่วยเดซิเบลเป็นหน่วยที่สามารถแสดงค่าสูงและค่าต่ำเปรียบเทียบกันได้เนื่องจากคำนวณจากการหาลอการิทึม ระดับเดซิเบลที่ถึงขั้นอันตรายของคนหูปกติคือ 85 เดซิเบลขึ้นไป (หลังจากรับฟังหลายชั่วโมง)

SPL ย่อมาจาก ซาวด์เพรสเชอร์เลเวล (Sound Pressure Level) มีหน่วยวัดค่าความดังสูงสุดของเสียงใช้หน่วยวัดเป็นdBไม่มีกำหนดค่ามาตรฐานถ้า SPL ยิ่งมีค่าที่มาก หมายถึงความดังเสียงที่ดังเพิ่มขึ้น และ ในขณะเดียวกัน ถ้า SPL ยิ่งมีค่าที่น้อย หมายถึงความดังเสียงที่มีความดังลดลง

GND/LIFT ย่อมาจาก Ground-Lift คือปุ่มที่ใช้สำหรับตัด Ground ของสัญญาณเสียงที่เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ให้แยกออกจากกัน เพื่อป้องกันปัญหา Ground-Loop ซึ่งเป็นที่มาของเสียงฮัมเสียงจี่ โดยในสถานการณ์ปรกติปุ่มนี้จะถูกกดก็ต่อเมื่อเจอปัญหา Ground-Loop เท่านั้น

โอห์ม (อังกฤษ: ohm) (สัญลักษณ์ : Ω) เป็นหน่วยเอสไอ (SI) ของค่าอิมพีแดนซ์ทางไฟฟ้า ในกรณีของกระแสสลับ หรือค่าความต้านทานไฟฟ้า ในกรณีของกระแสตรง ตั้งชื่อตามเกออร์ค ซีม็อน โอห์ม นักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน

HF transducer ย่อมากจาก high frequency transducer คือ ตัวแปลงสัญญาณความถี่สูง

LH transducer ย่อมากจาก Low frequency transducer คือ ตัวแปลงสัญญาณความถี่ต่ำ

NFB ย่อมาจาก No Fuse Breaker หมายถึง ไม่ตัดชนวน 

KHz ย่อมาจาก กิโลเฮิร์ทซ์ (อังกฤษ : Kilohertz)
เป็นคลื่นความถี่มีค่าเท่ากับ 1,000 เฮิร์ทซ์ เป็นหน่วยวัดจำนวนรอบต่อวินาที 1 กิโลเฮิร์ทซ์ จึงเท่ากับหนึ่งพันรอบต่อวินาที ใช้กับความถี่คลื่นเสียงสูง

Hz ย่อมาจาก เฮิรตซ์ (อังกฤษ: Hertz) เป็นหน่วยอนุพัทธ์เอสไอ (SI) ซึ่งเป็นหน่วยของค่าความถี่ โดย 1 Hz คือ ความถี่ที่เท่ากับ 1 ครั้ง ต่อวินาที (1/s) หรือ 1Hz=1/S ดังนั้น 50 Hz หมายถึงมีความถี่เท่ากับ 50 ครั้งต่อ 1 วินาที และใช้กับความถี่คลื่นเสียงต่ำ
ชื่อหน่วยเฮิรตซ์มาจากชื่อนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ชื่อ ไฮน์ริช แฮทซ์ เป็นนักวิทยาศาสตร์ทางด้านแม่เหล็กไฟฟ้า
หน่วยเฮิรตซ์ได้กำหนดครั้งแรกใน พ.ศ. 2473 (ค.ศ. 1930) แล้วเริ่มมาใช้แทน หน่วย รอบต่อวินาที (cycles per second หรือ cps) ในปี พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) ต่อมาในปี พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) หน่วย Hz ได้ใช้ทดแทนการใช้ cps แทบทั้งหมด

W ย่อมาจาก วัตต์ (watt) เป็นหน่วยเอสไอของกำลัง ตั้งชื่อตามเจมส์ วัตต์ ตัวอย่างพลังงานในหน่วยวัตต์ เช่น หลอดไฟที่ใช้ตามบ้านใช้ 100 วัตต์ ขณะที่เขื่อนฮูเวอร์ผลิตไฟฟ้าได้สองพันล้านวัตต์

1 วัตต์ มีค่าเท่ากับ 1 จูลของพลังงานต่อวินาที

โวลต์ วัตต์ แอมป์ แตกต่างกันอย่างไร
โวลต์ (volt หรือ V) คือหน่วยที่ใช้เรียกเพื่อบอกขนาดของแรงดันไฟฟ้าในบ้าน อาทิ 220 V หมายถึง ขนาดของแรงดันไฟฟ้าเท่ากับ 220 โวลต์ (ประเทศไทยก็ใช้ไฟระบบนี้)

แอมแปร์ หรือ แอมป์ (ampere หรือ A) คือหน่วยที่ใช้เรียกสำหรับบอกปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวนำ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้านั่นเอง อาทิ 5 A หมายถึง ปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเท่ากับ 5 แอมแปร์

วัตต์ (Watt) คือ หน่วยวัดกำลังไฟฟ้าที่เป็นตัวบอกพลังงานไฟฟ้าของอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่ละชนิดใช้ในการทำงาน เช่น หลอดไฟ 100 วัตต์ หมายความว่า หลอดไฟกินไฟ 100 จูลต่อวินาที
1 W = 1 J/s = 1 นิวตัน เมตร ต่อวินาที = 1 kg·m2·s−3

ขอบคุณที่มาจาก วิกิพีเดีย
ขอบคุณภาพจาก www.powermeterline.com

 

 

 

 
 

Copyright 2006 www.bravomusic.co.th all rights reserved.