Bravo Music everthing for string player
Email: Password:
New Register | Forget your password?
Log on to System | Forget Password | New Register | Promotion | How to Order? | How to Pay? | How to Deliver? | Tell a Friend | How to choose violin | String guide | Violin Parts | Violin Care & Maintenance | Setup| Dealers Certificate I Rentals Violin & Cello | Violin & Cello Lesson | Musical Instrument Guide | After Service I Vegan Bow I Sound System Term I Amplifiers Class I Type of Guitar I Violin Style I Why? Bravomusic I Violin&Cello Teachers | Free Sheet Music
    ไทย   Your Basket item(s)
Product Search:
Share on
Category
 

Main Menu
Log on to System
Forget Password
New Register
Promotion
How to Order?
How to Pay?
How to Deliver?
Tell a Friend
Tips & Trick
 

   
   
   
   

 

ชมรมดับเบิ้ลเบสไทย
บริการวงดนตรีสำหรับงานวิวาห์และงานโอกาสต่างๆ
ชมรมดนตรี
ห้องอัดเสียง BM Recording Studio ห้องบันทึกเสียงคุณภาพดี
Type of Guitar

รูปทรงบอดี้ของกีต้าร์โปร่ง

1. ทรง Dreadnought (เดรดน็อท) เป็นทรงที่เจอบ่อยที่สุดก็ว่าได้ ซึ่งออกแบบโดยคุณมาร์ตินเจ้าเก่าเมื่อปี 1916 โดยตั้งชื่อตามเรือรบลำใหญ่ของราชนาวีอังกฤษในยุคนั้น กีตาร์โปร่งทรงสุดอมตะทรงนี้ให้เสียงที่เต็ม โดยที่มีขนาดตัวกว้างพอเหมาะ เนื่องจากมีความได้เปรียบตรงความลึกที่มากกว่าหลายๆ ทรง และมีช่วงเอวที่ไม่เว้ามากนัก ทำให้ได้โครงสร้างกีตาร์โปร่งที่มีปริมาตรบอดี้มาก ให้เสียงดัง เล่นได้กว้าง ยิ่งถ้าได้ไม้อย่างมาฮอกกานีหรือโรสวูดมาประกบไม้ท็อป sitka spruce ยิ่งเหมาะเจาะลงตัว จึงไม่น่าแปลกใจที่กีตาร์ทรงนี้ของ Martin จะเป็นที่นิยมมากที่สุด และถูกก๊อบปี้มากที่สุดในโลก

2. ทรง OO หรือ Grand Concert พัฒนาจากทรงของกีตาร์คลาสสิค ช่วงเอวจึงไม่กว้างไปกว่าช่วงไหล่มากนัก และมิติโดยรวมของกีตาร์ยังค่อนข้างกะทัดรัด แตกต่างจากทรงเดรดน็อทค่อนข้างมาก แต่ด้วยความกะทัดรัดของมันนี่เองที่เหมือนจำกัดเนื้อเสียงย่านต่ำเอาไว้ไม่ให้เด่นไปกว่าย่านแหลม กีตาร์ทรงนี้จึงเหมาะกับการเล่น finger style หรือการโซโล่ที่ต้องการความชัดเจนของแต่ละโน้ตอย่างมาก กีตาร์ทรงนี้ที่เด่นๆ ก็แน่นอนว่าอันดับหนึ่งก็ต้องเป็นยี่ห้อต้นฉบับของทรงนี้ซึ่งก็คือ C.F. Martin ส่วนอีกเจ้าดังที่เอาไปพัฒนาต่อยอดเป็นทรงของตัวเองก็คือ Taylor รหัสทรงเลข 12 นั่นเอง

3. ทรง OM, OOO หรือ Grand Auditorium สำหรับทรงนี้จะคล้ายๆทรง OO แต่มีช่วงเอวกว้างขึ้น ให้เนื้อเบสที่มากขึ้นนิดหน่อยตามขนาดแต่ก็ยังเป็นย่านเบสที่มีโฟกัส ด้วยความที่ย่านเบสกลบย่านแหลมไม่มากนักมันจึงเหมาะกับการเล่นโซโล่หรือ finger style ด้วย ทรงนี้มักถูกแบรนด์อื่นนำไปพัฒนาต่อให้เป็นดีไซน์ของตัวเองที่มีความสวยงามดูสมัยใหม่มากขึ้น ที่เห็นชัดๆเลยก็คงหนีไม่พ้น Taylor รหัสทรง 14 ที่เป็นที่นิยมของคนรุ่นใหม่

4. ทรง Jumbo จากชื่อก็คงเดาไม่ยากว่าหมายถึงทรงที่มีขนาดใหญ่เบิ้มเป็นพิเศษ กีตาร์ทรงนี้ออกแบบมาให้มีปริมาตรภายในบอดี้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้โดยที่มันยังมีความเป็นกีตาร์โปร่งอยู่ จุดประสงค์ที่เพิ่มมิติบอดี้ก็เพื่อสร้างย่านเบสที่มีความเป็นสามมิติที่สุด มีความลึกชัดเจนอย่างที่ทรงอื่นๆ ไม่สามารถให้ได้ ซึ่งคนที่ใช้กีตาร์ทรงนี้ส่วนใหญ่ก็จะซีเรียสกับความ “เต็ม” ของโทนเสียง เพราะกีตาร์ไซส์จัมโบ้นี้มีข้อเสียในเรื่องย่านแหลมที่เริ่มถูกย่านเบสบดบัง นอกจากนี้ด้วยขนาดที่ใหญ่กว่าปกติก็อาจทำให้ลำบากในการขนย้าย หากพูดถึงกีตาร์โปร่งทรงนี้แล้ว กีตาร์รุ่นตำนานที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คงหนีไม่พ้น Gibson SJ-200

5. ทรง Arch Top ( Jazz Hollow Body)

คำว่า "Arch" หมายถึงโค้ง, ส่วน "Top" หมายถึงหน้าไม้ด้านหน้า ดังนั้นกีตาร์ Archtop ก็คือกีตาร์ ที่มี หน้าไม้โค้งนูนออกมา ซึ่งเป็นศิลปะในการทำเครื่องดนตรีที่มีมาแต่โบราณ โดยจะสังเกตเห็นลักษณะ ดังกล่าวได้จากเครื่องดนตรีเครื่องสี อย่างเช่น ไวโอลิน วิโอล่า หรือ ดับเบิ้ลเบส ล้วนมีไม้ด้านหน้าที่โค้งทั้งสิ้น

ลักษณะของ Archtop Guitar ประเภทที่เน้นซาวด์ "อะคูสติก"
เนื่องด้วยกีตาร์มีพัฒนาการมาจากเครื่องดนตรีประเภทดีดอย่าง Lute ที่มีมาตั้งแต่ยุคสมัย Renaissance ในยุโรปนั้น ตลอดช่วงของการวิวัฒนาการ ช่างทำกีตาร์ก็ได้มีการทดลองทั้งการเปลี่ยนแปลงวัสดุ รูปทรง วิธีการผลิต เพื่อให้ได้มาซึ่งเสียงกีตาร์ที่ดัง ฟังเสนาะหู และถูกใจผู้เล่น

ในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 20 นี้เอง (ประมาณช่วงปี 1900-1930) บุคคลสำคัญที่มีบทบาทอย่างมากในการพัฒนา "Archtop Guitar" คือ Orville Gibson ซึ่งนำความเชี่ยวชาญจากการผลิตแมนโดลินมาประยุกต์มาใช้ในการทำกีตาร์ซึ่งเหตุผลหลักๆ ของการทำให้ กีตาร์มีหน้าไม้ที่โค้งนูน (Arch)
ก็เพราะเขาเรียนรู้ว่า bracing block รวมไปถึงการประกบ ไม้โครงสร้างภายในกีตาร์ ล้วนมีส่วนทำให้ volume(หรือความดัง) ของกีตาร์ลดลง ดังนั้น Archtop กีตาร์จึงถูกสร้างขึ้น ด้วยแนวคิดที่จะพยายามลดโครงสร้างภายใน เพื่อให้กีตาร์มีเสียงดังมากขึ้นนั่นเอง

Archtop กีตาร์ใช้เล่นเพลง Jazz เท่านั้นหรือ?!
ในอดีต ดนตรีไม่ได้มีความหลากหลายเหมือนในปัจจุบัน ดนตรีที่เป็นกระแสหลักในอเมริกาที่ได้รับอิทธิพลมาจากยุโรป นั้นคือดนตรี Classic แต่จากการปะทะสังสรรค์ทางวัฒนธรรมทั้งของ ชาวยุโรปและแอฟริกา ก่อให้เกิดดนตรีประเภทใหม่ ที่มีความสนุกสนาน ฟังแล้วน่าเต้นรำ ซึ่งในยุคแรกๆ กลุ่มคนที่เล่นดนตรีประเภทนี้เรียกดนตรีของพวกเขาว่า Jass

ซึ่งต่อมาก็ได้มีพัฒนาการเปลี่ยนเป็นคำว่า Jazz ซึ่งเมื่อดนตรี Jazz ได้รับความนิยมจากประชาชนหมู่มาก จึงทำให้ กลายเป็นเพลง Pop และในช่วงเวลานั้นก็เป็นช่วงเวลาเดียวกันที่ Archtop มีพัฒนาการเกิดขึ้นและถูกนำมาใช้ ในดนตรีประเภทนี้ดังนั้นกีตาร์ Archtop นั้นก็จึงเป็นที่นิยมใช้ในการเล่นเพลง Pop ในอดีต (หรือ Jazz โดยเฉพาะ Swing Jazz)

6. ทรง Manouche (Gypsy Guitar หรือ Shcertler)

กีตาร์ Manouche หรือ Gypsy เป็นผลงานออกแบบของ Mario Maccaferri ในปี 1932 โดยมีโรงงาน Selmer ในฝรั่งเศษเป็นผู้ผลิต เป้าหมายหลักในการออกแบบของเขาคือเสียงต้องดังและ projection ต้องดี คอต้องเล่นไล่สเกลใด้อย่างคล่องแคล่วกว่ากีตาร์โปร่งและต้องล้วงใด้ลึก
(กีตาร์ gypsy เป็นกีตาร์โปร่งชายเว้ารุ่นแรกของโลก) การเพิ่ม projection นั้น Mario เขาดัด arch ทั้งไม้หน้าและไม้หลังโดยการใส่โค้งใว้ที่ ladder bracing ตาม blueprint ข้างล่างครับ (โปรดสังเกตุว่า Maccaferri ใช้ neck joint แบบ bolt-on มาก่อนกีตาร์ Taylor ครึ่งศตวรรษ)

ขอบคุณที่มาจาก : http://acousticthai.net

ขอบคุณที่มาจาก : https://www.bigtone.in.th

 

 

Copyright 2006 www.bravomusic.co.th all rights reserved.